
ปี พ.ศ. 2503
คณะอนุกรรมการส่งเสริมสวัสดิการของคุรุสภา
ได้มีการหารือถึงเรื่องการจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่สมาชิกคุรุ
สภา ซึ่งได้ข้อสรุปในหลักการจัดตั้งคลีนิคตรวจรักษาโรคทั่วไป ใช้ชื่อว่า
สถานพยาบาลของคุรุสภา
โดยใช้สถานที่ส่วนหนึ่งของหอพักคุรุสภาที่ตั้งอยู่บนคลองเม็งเส็ง
เป็นที่ทำการชั่วคราว โดยองค์การค้าของคุรุสภาอนุมัติเงินยืม 118,600
บาท เพื่อดัด แปลงสถานที่และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
และต่อมาคุรุสภาจังหวัดพระนครและธนบุรี
ได้จัดสรรเงินสะสมมาช่วยเป็นค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องมือ
เก้าอี้ทำฟันและอื่นๆ รวม 119,650 บาท
กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งนายแพทย์อาวุโส 2 ท่าน
มาเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงาน นอกจากนี้กระทรวงการคลัง
ยังอนุมัติให้ใบเสร็จรับเงินของสถานพยาบาลคุรุสภาสามารถนำไปเบิกค่ารักษา
พยาบาลได้ตามระเบียบสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ
ในปี
2504 นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา ในช่วงปี 2505 ถึง 2510
ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสถานพยาบาล ของคุรุสภา
โดยได้มอบเก้าอี้ทำฟันพร้อมอุปกรณ์ เตียงตรวจทางนรีเวช
เครื่องใช้ทางการแพทย์อื่นๆ ที่บรรดาญาติมิตร
ศิษย์และผู้ร่วมงานได้จัดซื้อให้เป็นของขวัญวันเกิดครบรอบ 60 ปี
ให้แก่สถานพยาบาลของคุรุสภา คิดเป็นมูลค่า 80,000 บาท และเงินสดอีก
31,857 บาท
พ.ศ. 2518 อาคารสถานพยาบาล
ซึ่งสร้างอยู่บนคลองเม็งเส็ง ( บริเวณหอพักคุรุสภาในปัจจุบัน) ทรุด
มีรอยแตกร้าว ไม่ปลอดภัยที่จะใช้การต่อไป
จึงย้ายไปทำการที่ชั้นล่างของหอพักเดิม
รื้ออาคารเดิมและได้สร้างอาคารใหม่ ริมรั้วคุรุสภาด้านริมคลอง
คืออาคารที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มก่อสร้างเมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2521 รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 6,295,500 บาท
และได้เริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2521
และได้ขยายบริการไปยังบคุคลทั่วไป จากเดิมที่ให้บริการเฉพาะสมาชิกคุรุสภา
ในปัจจุบัน การบริการได้เพิ่มคลีนิกโรคเฉพาะทาง
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ทางจากโรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ มาตรวจรักษา
ปัจจุบันมีแพทย์ประจำ 1 คน แพทย์ห้วงเวลา 11 คน
คลินิกพิเศษมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค 12 คน มีทันตแพทย์ประจำ 2
คน ทันตแพทย์เฉพาะทาง 5 คน เภสัชกร 2 คน และเจ้าหน้าที่พยาบาล
ธุรการ และอื่นๆ